สมัยกรุงรัตนโกสินทร์


สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ลุ พ.. ๒๓๒๕ (ปีขาล จุลศักราช ๑๑๔๔) สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ได้ราชสมบัติปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (เชียงขัน) ได้เปลี่ยนนามเป็น พระยาขุขันธ์ภักดี ได้มีใบบอกกราบทูลขอตั้งท้าวบุญจันทร์ (บุตรเลี้ยงชาวลาวที่ติดภรรยาม่ายมาจากเวียงจันทน์) ขึ้นเป็นพระไกร ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าเมืองอยู่มาวันหนึ่งพระยาขุขันธ์ภักดี (เชียงขัน) เผลอเรียกพระไกร (ท้าวบุญจันทร์) ว่าลูกเชลย พระไกรโกรธมากคิดจะแก้แค้นให้ได้ ภายหลังมีพวกญวนประมาณ ๓๐ คน เป็นพ่อค้ามาชื้อโคกระบือถึงเมืองขุขันธ์ พระยาขุขันธ์ภักดีได้จัดให้พวกญวนพักที่ศาลากลาง แล้วเกณฑ์คนนำทางไปส่งที่ช่องโพย ให้พวกญวนนำโคกระบือไปเมืองพนมเปญ พระไกรจึงบอกกล่าวโทษมากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงให้เรียกพระยาขุขันธ์ภักดีไปไต่สวน ได้ความตามข้อกล่าวหาจึงให้นำพระยาขุขันธ์ภักดี (เชียงขัน) กักขังไว้ที่กรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระไกรเป็นพระยาขุขันธ์ภักดี เจ้าเมืองคนที่ ๓
ในปี พ.. ๒๓๒๕ นั้น พระภักดีภูธรสงคราม (อุ่น) ปลัดเมืองขุขันธ์ ไม่พอใจพระยาขุขันธ์ภักดี (บุญจันทร์) จึงลงมากราบบังคมทูลที่กรุงเทพฯ ขอเป็นเจ้าเมืองอีกเมืองหนึ่งแยกจากขุขันธ์โดยไปตั้งที่บ้านโนนสามขา สระกำแพงใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านโนนสามขา สระกำแพงใหญ่ขึ้นเป็นเมืองศรีสระเกศ (มิได้เขียน ศรีสระเกษ ดังเช่นทุกวันนี้) ให้พระภักดีภูธรสงคราม (อุ่น) ขึ้นเป็นพระยารัตนวงษา เจ้าเมืองศรีสระเกศให้ท้าวมะนะ เป็นพระภักดีภูธรสงคราม ปลัดเมืองขุขันธ์แทน และให้ท้าวเทศ เป็นพระแก้วมนตรียกกระบัตรเมืองขุขันธ์
.. ๒๓๒๘ พระยารัตนวงษา (อุ่น) เจ้าเมืองศรีสระเกษถึงแก่อนิจกรรม จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งท้าวชม บุตรพระยารัตนวงษา ขึ้นเป็นพระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองแทนบิดา
.. ๒๓๒๙ เจ้าเมืองศรีสะเกศกับเมืองขุขันธ์เกิดวิวาทชิงเขตแดนกัน จึงโปรดเกล้าฯ แบ่งปันเขตแดนให้เรียบร้อย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ขึ้นครองราชย์พระยาวิเศษภักดี เจ้าเมืองศรีสะเกศถึงแก่กรรมใน พ.. ๒๓๓๐ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระภักดีภูธรสงคราม
ปลัดเมือง เป็นพระยาวิเศษภักดี เจ้าเมือง ให้หลวงยกระบัตรเป็นที่พระปลัดให้ราชบุตรเป็นหลวงยกกระบัตร ให้ทิดอูด เป็นหลวงมหาดไทย ให้ขุนไชยณรงค์เป็นหลวงธิเบศร์

กบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์
ลุจุลศักราช ๑๑๘๕ ปีมะเส็ง (.. ๒๓๖๔) พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าราชบุตร (โย่) เมืองเวียงจันทน์เป็นเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ได้เปลี่ยนธรรมเนียมเก็บส่วยแก่ชายฉกรรจ์ที่มีภรรยาแล้ว เป็นไหม หรือ ป่าน หรือ ผลเร่ว คนหนึ่งหนักชั่งห้าตำลึง ส่วนข้าวเปลือกให้เก็บตามเดิม ลำดับนั้น ตั้งแต่เขตแขวงเมืองนครจำปาศักดิ์ไปจนถึงเมืองเวียงจันทน์ อยู่ในอำนาจของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์กับเจ้าราชบุตร (โย่) ผู้ครองเมืองนครจำปาศักดิ์
พ่อลูกทั้งสองเห็นว่ามีเขตแขวงและกำลังไพร่พลมากขึ้นก็กำเริบใจคิดกบฏต่อกรุงเทพฯ
ครั้งปีจอ  จุลศักราช ๑๑๘๘ (.. ๒๓๖๙) เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้แต่งตั้งให้เจ้าอุปราช (สีถาน) กับเจ้าราชวงศ์เมืองเวียงจันทน์ ยกกองทัพมาตีเมืองรายทางจนถึงกาฬสินธุ์ จับเจ้าเมืองอุปฮาดกับกรมการเมืองฆ่าเสียแล้วกวาดต้อนเอาครอบครัวไพร่พลเมืองการฬสินธุ์ส่งไปเมืองเวียงจันทน์ แล้วยกไปตีเมืองเขมราฐจับเจ้าเมือง (ท้าวก่ำ บุตรพระวอ) ฆ่าเสีย แล้วยกกองทัพไปถึงเมืองร้อยเอ็ด
เจ้าเมืองร้อยเอ็ดเห็นว่าจะสู้ไม่ได้จึงคบคิดกับกรมการเมืองพาเอานางหมานุย นางตุ่ม นางแก้ว บุตรสาวยกให้เจ้าอุปราช เจ้าอุปราชจึงไม่ทำอันตราย แล้วยกกองทัพต่อไปถึงเมืองสุวรรณภูมิ จับข้าหลวงกองสักได้ให้ฆ่าเสีย แต่พระรัตนวงษา เจ้าเมืองสุวรรณภูมิมิได้ยกนางออมบุตรสาวเจ้าเมืองสุวรรณภูมิคนเก่าและม้าผ่าน ๑ ให้เจ้าอุปราช เจ้าอุปราชจึงงดไม่ทำอันตราย แล้วยกกองทัพของเจ้าอุปราชและเจ้าราชวงศ์ได้ยกเลยไปตีหัวเมืองรายทางจนถึงเมืองนครราชสีมา
ฝ่ายเจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ (โย่) ได้เกณฑ์ไพร่พลยกกองทัดมาตีเมืองขุขันธ์ เมืองสังขะและเมืองสุรินทร์ จับพระยาขุขันธ์ภักดี (บุญจันทร์) เจ้าเมืองขุขันธ์ พระภักดีภูธรสงคราม (มะนะ) ปลัดเมือง พระแก้วมนตรี (ท้าวเทศ) ยกกระบัตร กับกรมการเมืองได้และให้ฆ่าเสียเพราะไม่ยอมเข้ากับพวกกบฏ ส่วนเจ้าเมืองสังขะและเจ้าเมืองสุรินทร์หนีเอาตัวรอดไปได้ ครั้งนั้นกองทัพเจ้าโย่ได้กวาดต้อนเอาครอบครัวไทย เขมร ส่วย ไปไว้ที่เมืองนครจำปาศักดิ์เป็นจำนวนมาก แล้วได้ยกไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี พระพรหมราชวงศา เจ้าเมืองอุบลราชธานีจำต้องยอมเข้าด้วยกับพวกกบฏ เจ้านครจำปาศักดิ์จึงมิได้ทำอันตราย  ครั้งนั้นเจ้าโย่และเจ้าอนุวงศ์ ได้มาตั้งค่ายอยู่ที่มูลเค็ง แขวงเมืองพิมายแห่ง ๑ ที่บ้านส้มป่อย แขวงเมืองขุขันธ์ แห่ง ๑ ที่ทุ่งมนแห่ง ๑ ที่บ้านบกหวาน แขวงเมืองหนองคายอีกแห่ง ๑ 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเ็นทัพหลวง ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชาเมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นเจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นทัพหน้า ยกกองทัพมาปราบกบฏ ถึงแขวงเมืองนคราชสีมาได้พบเป็นกองทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์และได้สู้รบกันเป็นสามารถ กองทัพเวียงจันทน์ต้านทานมิได้ก็แตกถอยร่นไปอยู่ที่ค่ายมูลเค็งกองทัพไทยได้ตามไปตีค่ายมูลเค็งแตกแล้วยกตามไปตีค่ายส้มป่อย ค่ายทุ่งมน ค่ายน้ำคำ แตกทุกค่ายจนถึงกองทัพเจ้านครจำปาศักดิ์ ขณะนั้นฝ่ายครัวไทย เขมร ส่วย ที่เจ้านครจำปาศักดิ์ได้กวาดต้อนไปไว้ที่เมืองนครจำปาศักดิ์รู้ข่าวกองทัพไทยยกขึ้นมาช่วยก็พากันเอาไฟเผาเมืองนครจำปาศักดิ์ ราษฎรพลเมืองพากันแตกตื่นเป็นอลหม่านเมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน จุลศักราช ๑๑๘๙ (.. ๒๓๗๐)
 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เห็นว่าจะสู้กองทัพไทยไม่ได้ จึงถอยกลับไปตั้งรับอยู่ที่เมืองหนอง-บัวลำภูกองทัพไทยตามขึ้นไปตีจนถอยร่นหนีไปแล้ว กองทัพไทยได้ยกขึ้นไปตีได้เมืองเวียงจันทน์
เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ทิ้งเมืองหนีไปอยู่ที่เมืองญวน ต่อจากนั้นได้ยกไปตีเมืองนครจำปาศักดิ์ จับตัว
เจ้าเมืองนครจำปาศักดิ์ได้จึงยกทัพกลับกรุงเทพฯ โดยแบ่งทหารบางส่วนให้อยู่รักษาเมืองเวียงจันทน์ต่อมาทหารที่จัดให้อยู่รักษาเมืองเวียงจันทน์หลงเชื่อคำหลอกลวงของญวนว่า จะพาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เข้ามาอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่แล้วเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์กลับรวบรวมไพร่พลยกเข้ามาปล้นฆ่าคนไทยที่รักษาเมืองตายเกือบหมด ที่เหลือได้หนีรอดมาได้และได้รายงานให้เจ้าพระยาบดินทร์ทราบ ซึ่งขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้รับพระบรมราชโองการให้ยกทัพไปรักษาเมืองเวียงจันทน์แต่เดิมทัพไปยังไม่ถึงเมืองเวียงจันทน์ก็ได้ทราบข่าวเหตุร้ายที่เกิดขึ้นในเวียงจันทน์และเห็นว่ากำลังทัพมีไม่พอที่จะยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ จึงสั่งให้ถอยทัพไปรวบรวมไพร่พลที่เมืองยโสธรให้พร้อมเสียก่อนจึงจะยกไป แต่กองทัพเวียงจันทน์ได้ยกตามมาทันกันที่ค่ายบกหวานแขวงเมืองหนองคาย กองทัพเจ้าพระยาบดินทร์เดชาจึงได้รบกับกองทัพเวียงจันทน์ กองทัพเวียงจันทน์สู้ไม่ได้แตกพ่ายไป กองทัพเจ้าพระยาบดินทร์ เดชาจึงยกไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้เมืองเวียงจันทน์เป็นครั้งที่สอง และคราวนี้จับเจ้าอนุวงศ์
เวียงจันทน์ได้
การกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ครั้งนี้ นับเป็นการกบฏที่ยิ่งใหญ่ หัวเมืองสำคัญๆ ทางภาคอีสานหลายเมืองตกอยู่ในอำนาจของพวกกบฏเกือบทั้งสิน ในระหว่างปราบกบฏทางเมืองนครราชสีมาได้เกิดวีรสตรีขึ้นท่านหนึ่ง จากการต่อสู้กับทหารของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ที่ทุ่งสำริดแขวงเมืองพิมาย ท่านผู้นั้นคือ คุณหญิง "โม" ซึ่งเป็นภริยาของพระยาสุรเดชวิเศษฤทธิ์ทศธิศวิชัยปลัดเมืองนครราชสีมา ได้รับพระราชทานนามว่า "ท้าวสุรนารี"
เมื่อปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระยาสังขะบุรีไปเป็นเจ้าเมืองขุขันธ์ คนที่ ๔ ให้พระไชย (ใน) เป็นพระภักดีภูธรสงคราม ปลัดเมือง  ให้พระสะเพื้อน
(นวน) เป็นพระแก้วมนตรี ยกกระบัตรเมือง ให้ท้าวหล้าบุตรพระยาขุขันธ์ (เชียงขัน) เป็นพระมหาดไทย ช่วยกันรักษาเมืองขุขันธ์สืบไป
ตามพงศาวดารกล่าวว่า พวกกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ได้มาตั้งค่ายไว้แห่งหนึ่งที่แขวงเมืองขุขันธ์ เรียกว่าค่ายส้มป่อย (ปัจจุบันอยู่ในท้องที่อำเภอราษีไศล ทางตะวันตกบ้านส้มป่อย) ที่แห่งนี้ ปรากฏว่ามีโพน (จอมปลวก) ตั้งเรียงรายกันอยู่เป็นแนวติดต่อกันไป เริ่มตั้งแต่ทางตะวันตกบ้านส้มป่อยจนเกือบถึงบ้านบึงหมอก ชาวบ้านเรียกกันว่า "ค่ายส้มป่อยโพนเลียน" (โพงเรียง) เข้าใจว่าที่แห่งนี้จะเป็นค่ายส้มป่อยของกองทัพลาว เพระลักษณะโพนที่ตั้งเรียงรายกันอยู่อย่างมีระเบียบเป็นแถวเดียวกัน และมีระยะห่างเท่ากันไปโดยตลอด คงจะไม่ใช่โพนหรือจอมปลวกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ริมฝั่งแม่น้ำมูลใกล้ๆ กับโพนเรียงไปทางทิศใต้มีหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่าบ้านโก คนในหมู่บ้านนี้พูดภาษาไทยสำเนียงโคราช ชาวบ้านมีอาชีพปั้นหม้อขาย สองถามชาวบ้านได้ความว่า พวกที่มาตั้งบ้านโกครั้งแรกนั้นเป็นชาวโคราชที่ถูกกองทัพลาวกวาดต้อนมา
ลุ พ.. ๒๓๘๘ หลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย และหลวงอภัย กรมการเมืองศรีสะเกศไม่สมัครที่จะทำราชการกับพระยาวิเศษภักดีเจ้าเมืองศรีสระเกศ ได้อพยพครอบครัวไปตั้งอยู่ที่บ้านน้ำโดมใหญ่ พรมแดนเมืองจำปาศักดิ์ต่อกับอุบลฯ และขุขันธ์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ตั้งให้หลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง ให้หลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด หลวงอภัยเป็นหลวงยกกระบัตร รักษาราชการเมืองเดชอุดมต่อไป และในปีเดียวกันนี้โปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านไพรตระหมัก (บ้านดาสีขึ้นเป็นเมืองมะโนไพรให้หลวงภักดีจำนง (พรหม) เสมียนตรากรมการเมืองขุขันธ์ซึ่งเป็นบุตรเขยพระยาเดโช (เม้ง-เขมร) เป็นพระมะโนจำนง เจ้าเมืองมะโนไพร ขึ้นต่อเมืองขุขันธ์ และครั้งนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้หลวงอนุรักษ์ภูเบศร์ เป็นข้าหลวงขึ้นไปจัดราชการบ้านเมืองตะวันออก และจัดปันเขตแดนเมืองนครจำปาศักดิ์กับเมืองขุขันธ์ ให้เป็นเขตแดนของเมืองมะโนไพรต่อไป (ปัจจุบันเมืองนะโนไพรอยู่ในเขตประเทศเขมร เขมรเรียกว่าเมืองมูลไปร ไทยได้เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงตรงกันข้ามปากเซซึ่งมีนครจำปาศักดิ์ และเมืองมะโนไพร ให้แก่ฝรั่งเศสไปเมื่อ พ.. ๒๔๔๖)
จุลศักราช ๑๒๑๒ (.. ๒๓๙๓) พระยาขุขันธ์ภักดีเจ้าเมืองคนที่ ๔ ซึ่งมาจากเมืองสังขะถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้าฯ  ตั้งให้พระภักดีภูธรสงคราม (ใน) ปลัดเมือง เป็นพระยาขุขันธ์ภักดีเจ้าเมืองขุขันธ์ คนที่ ๕ เลื่อนพระมหาดไทย (หล้า) เป็นพระภักดีภูธรสงคราม ปลัดเมือง เมื่อพระภักดีภูธรสงคราม (หล้า) ถึงแก่กรรม ได้ตั้งให้ท้าวกิ่ง บุตรพระยาขุขันธ์ (เชียงขัน) เป็นปลัดเมืองและให้ท้าวศรีเมืองเป็นพระมหาดไทย  ต่อมาพระยาขุขันธ์ภักดี (ใน) ถึงแก่กรรม ได้โปรดเกล้าฯ  ให้ตั้งยกระบัตร   (นวน) เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี เจ้าเมืองคนที่ ๖ เลื่อนพระมหาดไทย (ศรีเมือง) เป็นพระยกกระบัตร
ในศกเดียวกันนี้ พระยาขุขันธ์ภักดี (นวน) ถึงแก่กรรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระภักดีภูธรสงคราม (กิ่ง) เป็นพระยาขุขันธ์ภักดี เจ้าเมืองคนที่ ๗ เลื่อนยกกระบัตร (ศรีเมือง) เป็นพระปลัดเมือง ให้พระวิเศษ (พิมพ์) เป็นพระแก้วมนตรี พ..๒๓๙๕ พระยาขุขันธ์ภักดี (กิ่ง) ถึงแก่กรรม โปรดเกล้าฯ ตั้งให้
พระวิไชย (วัง) ผู้เป็นน้องพระยาขุขันธ์ภักดี เป็นเจ้าเมืองแทน เป็นเจ้าเมืองคนที่ ๘
ต่อมาใน พ.. ๒๔๑๐ ปลายรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยาขุขันธ์ภักดี (วัง) ได้จับพระพล (รส) ผู้น้อง บอกส่งมายังกรุงเทพฯ และถูกจองจำอยู่ที่กรุงเทพฯ จึงถึงแก่กรรมและยังได้บอกกล่าวโทษพระปลัดเมือง (ศรีเมือง) ว่าเบียดบังเงินหลวง ได้มีพระบรมราชโองการให้ส่งตัวพระปลัดเมืองมาพิจารณาที่กรุงเทพฯ พิจารณาได้ความตามที่กล่าวโทษ ตุลาการตัดสินให้พระปลัดเมืองชดใช้เงินหลวง เสร็จแล้วให้กลับไปรับราชการตามเดิม ขณะเดินทางกลับเดินทางมาถึงเมืองปราจีนบุรีก็ล้มป่วยและถึงแก่กรรมกลางทาง ฝ่ายท้าวอ้น บุตรพระปลัดเมือง (ศรีเมือง) เห็นว่า ถ้าจะรับราชการอยู่ในเมืองขุขันธ์ดังแต่ก่อนมา เกรงว่าจะได้รับความเดือนร้อนจึงลงไปกรุงเทพฯ กราบทูลขอออกไปทำราช-การเป็นกองนอกก็ได้รับกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท้าวอ้นเป็นพระบริรักษ์ภักดี กองนอกทำราชการขึ้นกับเมืองขุขันธ์ และโปรดเก้ลาฯ ให้ตั้งท้าวบุญนาคบุตรพระยาขุขันธ์ภักดี (วัง) เป็นพระอนันต์ภักดี
ผู้ช่วยราชการเมืองขุขันธ์ตามที่พระยาขุขันธ์ภักดี (วัง) มีใบบอกขอมา
.. ๒๔๒๖ ในแผ่นดินสมเด็จพระปิยมหาราช พระยาขุขันธ์ภักดี (ปัญญา) เจัาเมืองขุขันธ์กับพระปลัดเมือง (จันลี) ได้นำช้างพังสีประหลาย ๑ เชือก กับช้างพังตาดำ ๑ เชือก ลงมาน้อมเกล้าฯ ถวายที่กรุงเทพฯ
.. ๒๔๓๓ มีตราสารโปรดเกล้าฯ ให้เมืองศรีสะเกษไปอยู่ในบังคับบัญชาของข้าหลวงเมืองอุบลราชธานี
เดือนกุมภาพันธ์ พ.. ๒๔๓๔ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิดปรีชากร ข้าหลวงใหญ่ได้โปรดให้หลวงจำนงยุทธกิจ (อิ่ม) กับขุนไผท ไทยพิทักษ์ (เกลี่ยน) เป็นข้าหลวงเมืองศรีสะเกษ
.. ๒๔๓๕ ให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง) เป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์
.. ๒๔๓๗ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้อยู่จัดรูปการปกครองเป็นแบบมณฑล มีสมุหเทศาภิบาลเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑล จังหวัดศรีสะเกษขึ้นอยู่ในมณฑลอีสาน กองบัญชาการมณฑลอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี
.. ๒๔๔๗ ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์ (ซึ่งอยู่ที่ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (ปัจจุบัน คือ ตำบลเมืองเหนือ ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ) และยังคงใช้ชื่อเมือง
ขุขันธ์อยู่เหมือนเดิม และยุบเมืองขุขันธ์เดิมลงเป็นอำเภอ เรียกว่าอำเภอห้วยเหนือ
.. ๒๔๕๕ เปลี่ยนชื่อมณฑลอีสาน เป็นมณฑลอุบล มีเมืองที่ขึ้นต่อมณฑลนี้เพียง ๓ เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์ (เข้าใจว่าเมืองศรีสระเกศคงถูกยุบลงเป็นอำเภอ ขึ้นอยู่กับเมืองขุขันธ์)
.. ๒๔๕๕ กระทรวงมหาดไทยประกาศให้เปลี่ยนชื่อเมืองทุกเมือง เป็นจังหวัด เมือง
ขุขันธ์จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดขุขันธ์ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๕๙
.. ๒๔๘๑ มีพระราชกฤษฎีกา ให้เปลี่ยนชื่อจังหวัดขุขันธ์ เป็นจังหวัดศรีสะเกษ 

ศรีสะเกษ กับ ศรีสระเกศ
คำว่าศรีสะเกษ นี้ เดิมเขียนว่า ศรีสระเกศ ดังที่ปรากฏในเรื่องกำเนินเมืองศรีสระเกศแล้ว โดยเขียนตามหนังสือพงศาวดารที่เขียนไว้ ซึ่งเป็นการถูกต้องตามหลักภาษาที่ระบุไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ตรงกับความหมายของตำบลที่ตั้งเมืองศรีสระเกศแต่เดิมดังนิยามปรับปรากล่าวถึงที่มาของคำว่า ศรีสระเกศ ดังนี้
นิยามที่ ๑ พระยาแกรกเจ้าเมืองเขมร ได้เดินทางท่องเที่ยวไปจนถึงประเทศลาว ไปพบเนื้อคู่เป็นธิดาเจ้าเมืองลาวชื่อนางศรี ได้สู่ขอแต่งงานอยู่กินดัวยกันเรียบร้อยที่ประเทศลาวต่อมาพระยาแกรกเดินทางกลับประเทศเขมรก่อนทิ้งนางศรีไว้ที่เมืองลาว นางศรีมีครรภ์แก่และคิดถึงสามีจึงออกเดินทางติดตามสามีไปเมืองเขมร เดินทางไปถึงทำเลหนึ่งมีสระน้ำใสเย็นนางศรีได้คลอดทารกทิ่ริมสระแห่งนั้น และนางได้ลงชำระสระสรงอาบน้ำล้างตัว พร้อมทั้งชำระล้างทารกบุตรของนางที่สระน้ำ แล้วนางจึงเดินทางต่อไปยังเมืองเขมร สระนี้จึงได้ชื่อว่าศรีสระเกศ แต่นั้นมา
นิยามที่ ๒ กล่าวถึงพระยาศรีโคตรตะบองเพชรครองกรุงกัมพูชา (เขมร) มีตะบองเพชรเป็นอาวุธวิเศษ พระยาศรีโคตรตะบองเพชรกับพระมเหสีเดินทางไปเมืองลานช้าง ขากลับแวะลงสระสรงน้ำที่สระกำแพงทั้งสององค์ จึงได้ชื่อว่า ศรีสระเกศ
นิยามที่ ๓ เล่าว่าพระนางศรีนางพญาขอม (เขมรโบราณ) เดินทางจากเมืองพิมายผ่านมาและลงสระผมที่สระนี้ จึงได้ชื่อว่า ศรีสระเกศ
จึงสรุปได้ว่า มีคนชื่อศรี มาสระผมที่สระนี้ เกศ แปลว่า ผม (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. ๒๔๙๓ หน้า ๑๖๒) ส่วนคำว่า สระ แปลว่า ชำระ ฟอก ล้าง (หน้า ๘๗๗) ดังนั้น ที่เขียนตามพงศาวดารว่า ศรีสระเกศ นั้นถูกต้องตรงกับความหมายทางภาษาทุกประการ แต่ที่เขียนเป็น ศรีสะเกษ ยังหาที่มาไม่พบ

การจัดรูปการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาล
หลังจากจัดหน่วยราชการบริหารส่วนกลาง โดยมีกระทรวงมหาดไทยในฐานะเป็นส่วนราชการที่เป็นศูนย์กลางอำนวยการปกครองประเทศ และควบคุมหัวเมืองทั่วประเทศแล้ว การจัดระเบียบการปกครองต่อมาก็มีการจัดตั้งหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาค ซึ่งมีสภาพและฐานะเป็นตัวแทนหรือหน่วยงานประจำท้องที่ของกระทรวงมหาดไทยขึ้น อันได้แก่ การจัดรูปการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งถือได้ว่า เป็นระบบการปกครองอันสำคัญยิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนำมาใช้ปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาคในสมัยนั้น การปกครองแบบเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองส่วนภูมิภาคชนิดหนึ่งที่รัฐบาลจัดส่งข้าราชการจากส่วนกลางออกไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลในสมัยนั้น การปกคอรงแบบเทศาภิบาลเป็นระบบการปกครองที่รวมอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลางอย่างมีระเบียบเรียบร้อยและเปลี่ยนระบบการปกครองจากประเพณีปกครองดั้งเดิมของไทย คือระบบกินเมืองให้หมดไป
การปกครองหัวเมืองก่อนวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๕ นั้น อำนาจปกครองบังคับบัญชามีความหมายแตกต่างกันออกไปตามความใกล้ไกลของท้องถิ่น หัวเมืองหรือประเทศราชยิ่งไกลไปจากกรุงเทพฯ เท่าใดก็ยิ่งมีอิสระในการปกครองตนเองมากขึ้นเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากการคมนาคมไปมาหาสู่ลำบาก หัวเมืองที่รัฐบาลปกครองบังคับบัญชาได้โดยตรงก็มีแต่หัวเมืองจัตวาใกล้ๆ ส่วนหัวเมืองอื่นๆ มีเจ้าเมืองเป็นผู้ปกครองแบบกินเมืองและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง ในสมัยที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพดำรงตำแหน่งเสนาบดี พระองค์ได้จัดให้อำนาจการปกครองเข้ามารวมอยู่ยังจุดเดียวกันโดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้น มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา
หัวเมืองทั้งปวง ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลมิให้การบังคับบัญชาหัวเมืองไปอยู่ที่เจ้าเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลเริ่มจัดตั้งแต่ พ.. ๒๔๓๙ จนถึง พ.. ๒๔๕๘ จึงสำเร็จ และเพื่อความเข้าใจเรื่องนี้เสียก่อนในเบื้องต้น จึงจะขอนำคำจำกัดความของการเทศาภิบาล ซึ่งพระยาราชเสนา (สิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) อดีตปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยตีพิมพ์ไว้ ซึ่งมีความว่า
"การเทศาภิบาล คือการปกครองโดยลักษณะที่จัดให้หน่วยบริหารราชการอันประกอบด้วย ตำแหน่งข้าราชการต่างพระเนตรพระกรรณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ไว้วางใจของรัฐบาลของพระองค์ รับแบ่งภาระของรัฐบาลกลาง ซึ่งประจำแต่เฉพาะในราชธานีนั้น ออกไปดำเนินงานในส่วน
ภูมิภาคอันเป็นที่ใกล้ชิดติดต่ออาณาประชากร เพื่อให้ได้รับความร่วมเย็นเป็นสุขและความเจริญทั่วถึงกัน โดยมีระเบียบแบบแผนอันเป็นคุณประโยชน์แก่ราชอาณาจักรด้วย ฯลฯ จึงได้แบ่งส่วนการปกครองโดยขนาดลดหลั่นกันเป็นขั้นลำดับ ดังนี้ คือ ส่วนใหญ่เป็นมณฑลรองถัดลงไปเป็นเมือง คือ จังหวัด รองไปอีกเป็นอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน จัดแบ่งหน้าที่ราชการเป็นส่วนสัดแผนกงานให้สอดคล้องกับทำนองการของกระทรวงทบวงกรมในราชธานีและจัดสรรข้าราชการที่มีความรู้สติปัญญา ความประพฤติดี ให้ไปประจำทางตามตำแหน่งหน้าที่ มิให้มีการก้าวก่ายสับสนกันดังที่เป็นมาแต่ก่อน เพื่อนำมาซึ่งความเจริญเรียบร้อย รวดเร็วแก่ราชการและธุรกิจของประชาชน ซึ่งต้องอาศัยทางราชการเป็นที่พึ่งด้วย"
จากคำจำกัดความดังกล่าวข้างต้น ควรทำความเข้าใจบางประการเกี่ยวกับการจัดระเบียบการปกครองแบบเทศาภิบาล ดังนั้น การเทศาภิบาลนั้น หมายความรวมว่า เป็น "ระบบ" การปกครองอาณาเขตชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า " การปกครองส่วนภูมิภาค" ส่วน "มณฑลเทศาภิบาล นั้น คือส่วนหนึ่งของการปกครองชนิดนี้ และยังหมายความอีกว่า ระบบเทศาภิบาลเป็นระบบที่รัฐบาลกลางจัดส่งข้าราช-การส่วนกลางไปบริหารราชการในท้องที่ต่างๆ แทนที่ส่วนภูมิภาคจะจัดปกครองกันเองเช่นที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม อันเป็นระบบกินเมือง ระบบการปกครองแบบเทศาภิบาลจึงเป็นระบบการปกครองซึ่งรวมอำนาจอำนาจเข้ามาไว้ในส่วนกลาง และริดรอนอำนาจของเจ้าเมืองตามระบบกินเมืองลงอย่างสิ้นเชิง
นอกจากนี้ มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีกประการหนึ่ง คือ ก่อนการจัดระเบียนการปกครองแบบเทศาภิบาลนั้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ก่อนปฏิรูปการปกครองก็มีการรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑลเหมือนกัน แต่มณฑลสมัยนั้นหาใช่มณฑลเทศาภิบาลไม่ ดังจะอธิบายโดยย่อต่อไปนี้ เมื่องพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระปิยมหาราช ทรงพระราชดำริจะจัดการปกครองพระราชอาณาเขตให้มั่งคงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทรงเห็นว่าหัวเมืองอันมีมาแต่เดิมแยกกันขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้างและกรมท่าบ้าง การบังคับบัญชาหัวเมืองในสมัยนั้นแยกกันอยู่ถึง ๓ แห่ง ยากที่จะจัดระเบียบปกครองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกันได้ทั่วราชอาณาจักร ทรงพระราชดำริว่า ควรจะรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งปวง ให้ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว จึงได้มีพระบรมราชโองการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม  พ.. ๒๔๓๕ เมื่อได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยปกครองหัวเมืองทั้งปวงแล้ว จึงได้รวบรวมหัวเมืองเข้าเป็นมณฑล มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครอง การจัดตั้งมณฑลในครั้งนี้มีอยู่ทั้งสิ้น ๖ มณฑล คือ มณฑลลาวเฉียง หรือมณฑลพายัพ มณฑลลาวพวน หรือมณฑลอุดร มณฑลลาวกาว หรือมณฑลอีสาน มณฑลเขมร หรือมณฑลบูรพา และมณฑลนครราชสีมา ส่วนหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตก บัญชาการอยู่ที่เมืองภูเก็ต
การจัดรวบรวมหัวเมืองเข้าเป็น ๖ มณฑลดังกล่าวนี้ ยังมิได้มีฐานะเหมือนมณฑลเทศาภิบาล การจัดระบบการปกครองมณฑลเทศาภิบาลได้เริ่มอย่างแท้จริงเมื่อ พ.. ๒๔๓๗ เป็นต้นมาและก็มิได้ดำเนินการจัดตั้งพร้อมกันทีเดียวทั่วราชอาณาจักร แต่ได้จัดตั้งเป็นลำดับ ดังต่อไปนี้
.. ๒๔๓๗ เป็นปีแรกได้วางแผนงานจัดระเบียบการบริหารมณฑลแบบใหม่เสร็จกระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ขึ้น ๓ มณฑล คือ มณฑลพิษณุโลก มณฑลปราจีนบุรี มณฑลนครราชสีมา ซึ่งเปลี่ยนแปลงจากสภาพมณฑลแบบเก่ามาเป็นแบบใหม่ และในตอนปลายนี้เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้โอนหัวเมืองทั้งปวงซึ่งเคยขึ้นอยู่ในกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการต่างประเทศมาขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเดียวกัน จึงได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลราชบุรีขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. ๒๔๓๘ ได้รวมหัวเมืองจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๓ มณฑล คือ มณฑลนคร
ชัยศรี มณฑลนครสวรรค์ และมณฑลกรุงเก่า และได้แก้ไขระเบียบการจัดมณฑลฝ่ายทะเลตะวันตก คือ ตั้งเป็นมณฑลภูเก็ต ให้เข้ารูปลักษณะของมณฑลเทศาภิบาลอีกมณฑลหนึ่ง
.. ๒๔๓๙ ได้รวมหัวเมืองมณฑลเทศาภิบาลขึ้นอีก ๒ มณฑล คือ มณฑลนครศรี-
ธรรมราช และมณฑลชุมพร
.. ๒๔๔๐ ได้รวมหัวเมืองมะลายูตะวันออก เป็นมณฑลไทรบุรี และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกมณฑลหนึ่ง
.. ๒๔๔๓ ได้เปลี่ยนแปลงสภาพของมณฑลเก่าฯ ที่เหลืออยู่อีก ๓ มณฑล คือ มณฑลพายัพ มณฑลอุดร และมณฑลอีสาน ให้เป็นมณฑลเทศาภิบาล
.. ๒๔๔๗ ยุบมณฑลเพชรบูรณ์ เพราะเห็นว่ามีแต่จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
.. ๒๔๔๙ จัดตั้งมณฑลปัตตานีและมณฑลจันทบุรี มีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราด
.. ๒๔๕๐ ตั้งมณฑลเพชรบูรณ์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
.. ๒๔๕๑ จำนวนมณฑลลดลง เพราะไทยต้องยอมยกมณฑลไทรบุรีให้แก่อังกฤษเพื่อแลกเปลี่ยนกันการแก้ไขสัญญาค้าขาย และเพื่อกู้ยืมเงินจากอังกฤษมาสร้างทางรถไฟ
.. ๒๔๕๕ ให้แยกมณฑลอีสานออกเป็น ๒ มณฑล มีชื่อใหม่ว่า มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ด มณฑลอุบลมีเมืองที่ขึ้นอยู่ในการปกครอง ๓ เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุข้นธ์ และเมือง
สุรินทร์ (เข้าใจว่าเมืองศรีสะเกศ คงจะถูกยุบลงเป็นอำเภอขึ้นอยู่กับเมืองขุขันธ์จึงไม่ปรากฏชื่อเมืองศรีสะเกศ)
.. ๒๔๕๘ จัดตั้งมณฑลมหาราษฎร์ขึ้น โดยแยกออกจากมณฑลพายัพ

การจัดรูปการปกครองในสมัยปัจจุบัน
การปรับปรุงระเบียบการปกครองหัวเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศมาเป็นระบอบประชาธิปไตยนั้น ปรากฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ จัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ จังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหารราชการแผ่นดิน มีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมากรจังหวัดเป็นผู้บริหารเมื่อก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง นอกจากจะแบ่งเขตการปกครองออกเป็นมณฑลแล้วยังแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภออีกด้วย เมื่อมีประกาศใช้พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ จึงได้ยกเลิกมณฑลเสีย เหตุที่ยกเลิกมณฑลน่าจะเนื่องมาจาก
() การคมนาคมสื่อสารสะดวกและรวดเร็วขึ้นกว่าแต่ก่อน สามารถที่จะสั่งการและตรวจตราสอดส่องได้ทั่วถึง
() เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของประเทศให้น้อยลง
() เห็นว่าหน่วยมณฑลซ้อนกับหน่วยจังหวัด จังหวัดรายงานกิจการต่อมณฑล มณฑลรายงานต่อกระทรวง เป็นการชักช้าโดยไม่จำเป็น
() รัฐบาลในสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ๆ มีนโยบายที่จะให้อำนาจแก่ส่วนภูมิภาคยิ่งขึ้น และการที่ยุบมณฑลก็เพื่อให้จังหวัดมีอำนาจนั่นเอง
ต่อมาในปี พ.. ๒๔๙๕ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินอีกฉบับหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับจังหวัด มีหลักการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนี้
() จังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่จังหวัดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.. ๒๔๗๖ หามีฐานะเป็นนิติบุคคลไม่
() อำนาจบริหารในจังหวัดซึ่งแต่เดิมตกอยู่แก่คณะบุคคลได้แก่ คณะกรรมการจังหวัดนั้น ได้เปลี่ยนแปลงมาอยู่กับบุคคลคนเดียว คือผู้ว่าราชการจังหวัด
() ในฐานะของคณะกรรมการจังหวัดซึ่งแต่เดิมเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการ
แผ่นดินในจังหวัด ได้กลายเป็นคณะเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด
ต่อมาได้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินตามนัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๑๕ โดยจัดระเบียบบริหารราชการ
ส่วนภูมิภาคเป็น
() จังหวัด
() อำเภอ
จังหวัดนั้นให้รวมท้องที่หลายๆ อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล การตั้งยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ และให้มีคณะกรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น