สมัยกรุงศรีอยุธยา


สมัยกรุงศรีอยุธยา
ชนชาติลาวซึ่งอยู่ทางเหนือ ได้แก่ เมืองศรีสัตนาคนหุต (เวียงจันทน์) ได้อพยพเคลื่อนย้ายเข้าไปตั้งถิ่นฐานแย่งที่ทำกินของพวกข่า ส่วย กวย ซึ่งตั้งหลักแหล่งอาศัยทำมาหากินอยู่ตามป่าดง แขวงเมืองอัตบือแสนแป ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ประเทศลาวปัจจุบัน ชาวลาวมีสติปัญญาดีกว่าเพราะเป็นชาวเมือง มีภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมดีกว่าจึงมีความเจริญก้าวหน้า ลาวได้สร้างบ้าน
แปงเมืองและยกหัวหน้าขึ้นเป็นผู้ปกครองเมืองเป็นปึกแผ่นแน่นหนาจนรุ่งเรือง และสถาปนาขึ้นเป็นนครจำปาศักดิ์
เมื่อพวกส่วยถูกชาวลาวเข้ามารุกรานแย่งที่ทำกิน จึงได้รวบรวมสมัครพรรคพวกไปหาที่ทำกินแห่งใหม่ ในราว พ..๒๒๒๐ ได้มีพวกส่วยหลายกลุ่มอพยพลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ข้ามแม่น้ำโขงเข้ามายังประเทศไทย สู่ดินแดนอีสานตอนใต้ซึ่งยังรกร้างว่างเปล่าอยู่มาก ชาวไทยเจ้าของถิ่นในขณะนั้นเสื่อมอำนาจ เนื่องจากขอมซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองพิมาย (อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาได้ยกทัพมารบกวน ทำให้คนไทยต้องถอยร่นไปอยู่ที่อื่น พวกส่วยเหล่านี้จึงตั้งเป็นชุมนุมต่างๆ อาศัยดินแดนแถบนี้ทำไร่นาหาของป่าเลี้ยงชีพสืบกันต่อมาด้วยความเป็นสุข บรรดาชาวส่วยที่อพยพเข้ามาเหล่านี้ได้แบ่งออกเป็นหลายกลุ่มด้วยกัน เท่าที่ทราบมีดังนี้
กลุ่มที่ ๑ หัวหน้าชื่อเชียงปุ่ม ตั้งหลักแหล่งที่บ้านเมืองทรี (ปัจจุบันคือเมืองที จังหวัดสุรินทร์)
กลุ่มที่ ๒ หัวหน้าชื่อเชียงสี ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านหนองกุดหวาย (ท้องที่อำเภอรัตนบุรีจังหวัดสุรินทร์)
กลุ่มที่ ๓ หัวหน้าชื่อเชียงสง ตั้งหลักแหล่งที่อยู่ที่บ้านเมืองลิง (ปัจจุบันคืออำเภอจอมพระจังหวัดสุรินทร์)
กลุ่มที่ ๔ หัวหน้าชื่อเชียงขัน ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านปราสาทสี่เหลื่ยมดงลำดวน (ปัจจุบัน คือ บ้านดวนใหญ่ ตำลบดวนใหญ่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ)
กลุ่มที่ ๕ หัวหน้าชื่อเชียงฆะ ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านอัจจะปะนึ่ง (ปัจจุบันคือบ้านสังขะ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
กลุ่มที่ ๖ หัวหน้าชื่อเชียงชัย ตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านจารพัด (ปัจจุบันคืออำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์)

การติดตามช้างเผือกและกำเนิดเมืองขุขันธ์
เมื่อ พ.. ๒๓๐๒ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาที่ ๓ หรือสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) ช้างเผือกของพระองค์ได้แตกออกจากโรงช้างต้นในกรุงศรีอยุธยา แล้วเดินทางมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสให้ทหารเอกคู่พระทัยสองพี่น้อง คือ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พระนามเดิมทองด้วง กับกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิมบุญมา ให้คุมไพร่พลและทหารกรมช้างต้น ๓๐ นายออกติดตาม ได้ติดตามพญาช้างเผือกมาทางแขวงเมืองพิมาย ผ่านมาจนถึงบริเวณป่าดงดิบทางฝั่งทิศใต้ลำน้ำมูลจึงได้ข่าวจากพวกชาวป่าว่า พญาช้างเผือกผ่านมาทางบ้านหนองกุดหวาย (อำเภอรัตนบุรี) นายทหารเอกสองพี่น้องจึงได้เข้าไปหาเชียงสีหัวหน้าบ้านหนองกุดหวายเพื่อให้เชียงสีช่วยพาไปหาหัวหน้าบ้านต่อ ๆ ไป
เชียงสีได้พาไปหาเชียงปุ่มที่บ้านเมืองทรี (เมืองที) เชียงชัยที่บ้านจารพัด (ศีขรภูมิ) ไปหาตากะจะและเชียงขันที่บ้านปราสาทที่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่) แล้วยกต่อไปหาเชียงฆะที่บ้านอัจจะปะนึง (สังขะ) เชียงฆะแจ้งให้ทราบว่า เห็นช้างเผือกกับโขลงช้างป่ามาเล่นน้ำที่หนองโชก ครั้นวันรุ่งขึ้นนายทหารสองพี่น้องกับพวกหัวหน้าส่วยจึงขึ้นไปแอบอยู่บนต้นไม้ริมหนองโชกพอตะวันบ่ายประมาณ ๒ โมง โขลงช้างก็ออกจากป่ามาเล่นน้ำ พญาช้างเผือกเดินอยู่กลางโขลงมีช้างป่าล้อมหน้าล้อมหลัง นายทหารสองพี่น้องจึงนำเอาก้อนอิฐ ๘ ก้อนที่นำมาจากเมืองทรีขึ้นเสกเวทย์มนต์คาถาอธิษฐานแล้วขว้างไปยังโขลงช้างป่าทั้งแปดทิศ ช้างป่าแตกหนีเข้าป่าหมดเหลือแต่พญาช้างเผือก
นายทหารสองพี่น้องจึงนำพญาช้างเผือกกลับกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับพวกทหารและหัวหน้าชาวส่วย
ที่ช่วยติดตามช้าง เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยาแล้วนายทหารทั้งสองได้กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงความดีความชอบของพวกหัวหน้าส่วยที่ช่วยติดตามช้างหลวงจนสำเร็จ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้
. ตากะจะ     เป็นหลวงแก้วสุวรรณ          อยู่บ้านปราสาทที่เหลี่ยมดงลำดวน
. เชียงขัน     เป็นหลวงปราบ                อยู่บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน
. เชียงฆะ     เป็นหลวงเพชร                 อยู่บ้านสังขะ
. เชียงปุ่ม     เป็นหลวงสุรินทร์ภักดี         อยู่บ้านคูปะทายสมัย (จังหวัดสุรินทร์)
. เชียงสี        เป็นหลวงศรีนครเตา                   อยู่บ้านหนองกุดหวาย
ให้เป็นหัวหน้าควบคุมพวกเขมรส่วยป่าดงในตำบลบ้านที่ตนอยู่ ทำราชการขึ้นอยู่กับเมืองพิมาย พวกนายกองทั้งห้าคนได้เดินทางกลับบ้านของตนและปฏิบัติราชการตามรับสั่ง
ต่อมาพวกนายกองเหล่านี้ได้นำสัตว์และของป่าต่างๆ ไปส่งส่วยยังกรุงศรีอยุธยา ของส่วย เหล่านี้ได้แก่ ช้าง ม้า แก่นสน ยางสน ปีกนก นอแรด งาช้าง ขี้ผึ้ง เป็นต้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้
หลวงแก้วสุวรรณ  (ตากะจะเป็นพระไกรภักดีศรีนครลำดวน ยกบ้านปราสาท สี่เหลี่ยมดงลำดวน (บ้านดวนใหญ่) ขึ้นเป็นเมืองขุขันธ์ ให้พระไกรภักดีศรีนครลำดวนเป็นเจ้าเมือง
หลวงเพชร (เชียงฆะ) เป็นพระสังขะบุรีศรีนครอัจจะ ยกบ้านโคกอัจจะขึ้นเป็นเมืองสังขะ
หลวงสุรินทร์ภักดี (เชียงปุ่ม) เป็นพระสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวางเจ้าเมืองสุรินทร์ยกบ้านคูปะทายสมันขึ้นเป็นเมืองสุรินทร์


หลวงศรีนครเตา (เชียงสี) เป็นพระศรีนครเตาเจ้าเมืองรัตนะ ยกบ้านหนองกุดหวาย (หรือบ้านเมืองเตา) ขึ้นเป็นเมืองรัตนบุรี ให้เมืองเหล่านี้ขึ้นกับเมืองพิมาย
ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยามีเรื่องราวตามพงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสานว่า กรุงศรีอยุธยาศรีสัตนาคนหุต ล้านช้าง หลวงพระบาง และนครจำปาศักดิ์ ต่างเป็นแคว้นเอกราชและเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ปรากฏว่าอำนาจปกครองของนครจำปาศักดิ์ครั้งนั้นได้แผ่เข้ามาถึงดินแดนบางส่วนของเมืองทางภาคอีสานหลายเมือง รวมทั้งเมืองขุขันธ์ด้วย
เมืองนครจำปาศักดิ์แต่เดิมนั้นเป็นแคว้นเอกราช มีเขตแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือมาจนจดเขตแขวงเมืองพิมาย ซึ่งเป็นชายแดนทางตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา มีอาณาเขตแบ่งปันกันที่
ลำห้วยขะยูงและเมืองท่ง ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดและเมืองรัตนบุรี (อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์) ก็เคยเป็นเมืองที่อยู่ในเขตแขวงของแคว้นนครจำปาศักดิ์มาก่อน
เมืองนครจำปาศักดิ์ได้เป็นประเทศราชของไทยเมื่อ พ.. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรี จนถึง พ.. ๒๔๔๖ ไทยจึงได้เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงกันข้ามปากเซ อันมีเมืองนครจำปาศักดิ์และมะโนไพร ซึ่งเป็นเมืองขึ้นกับขุขันธ์ให้แก่ฝรั่งเศส



ราชบัณฑิตสถาน,อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๓ (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๗ น. ๑๔๖๘)

() () () ราชบัณฑิตสถาน,อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๓ (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, ๒๕๐๗ น. ๑๔๖๘)
หลักฐานเอกสารตรงกัน ๓ เล่ม คือ ๑. อมรวงศ์วิจิตร,หม่อม (... ปฐม คเนจร),.๑๙๗ ๒. ราชบัณฑิตยสถาน. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย  เล่ม ๓ น.๑๔๖๘ ๓.ประชุมพงศาวดาร ภาค ๔ ของหอสมุด วชิรญาณ (พระนคร : รพ.ส่วนท้องถิ่น ๒๕๐๖) . ๔๐-



พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน.. ๒๔๙๓ พระนคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๑๓ อธิบายคำว่า ส่วย  
ดังนี้ ส่วย แปลว่าของที่เรียกเก็บจากพื้นเมืองส่งเป็นภาคหลวงตามวิธีเรียกเก็บภาษีอากรในสมัยโบราณ (หน้า ๘๘) ส่วย แปลว่าชนชาติพูดภาษาตระกูลมอญเขมรพวกหนึ่งอยู่ทางภาคอีสาน (หน้า ๘๘๒)
ราชบัณฑิตยสถาน.อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย เล่ม ๓ หน้า ๑๔๖๙ และ อมรวงศ์วิจิตร, หม่อม. "พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน" ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๓ หน้า ๑๙๙ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น