สมัยก่อนกรุงศรีอยุธยา
จากการพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายครั้งหลายหนในระยะหลังๆ
นี้ อาทิ เครื่องปั้นดินเผา พระพุทธรูป อัญมณีเครื่องประดับ
ของใช้ประจำบ้านและเงินพดด้วง ซึ่งขุดพบใต้ฐานเจดีย์เก่าที่บ้านโนนแกด ตำบลทุ่ม
อำเภอเมืองศรีสะเกษ เมื่อต้นเดือนมีนาคม ๒๕๒๖
และที่หลายแห่งในพื้นที่ของกิ่งอำเภอห้วยทับทัน และอำเภออื่นๆ
นักโบราณคดีได้วิเคราะห์เปรียบเทียบหลักฐานศิลปวัตถุ
เช่น เจดีย์บ้านโนนแกด ซึ่งเป็นเจดีย์รูปดอกบัว ตัวเจดีย์ย่อมุมมีบัวคว่ำบัวหงาย
อายุประมาณ ๑,๒๐๐-๑,๓๐๐ ปี และได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่มาแล้ว
๒ ครั้งหลังจากที่ได้สร้างเสร็จ ครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ.
๑๗๐๐-๑๘๐๐ และครั้งที่ ๒ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๐-๒๑๐๐
นอกจากนั้นวัตถุโบราณอื่นๆ
ที่ขุดพบ อาทิ เป็นถ้วยชาม หม้อ ไห สันนิษฐานว่า
เป็นเครื่องปั้นดินเผาของชนชาติสยาม และบางส่วนเป็นศิลปะของชนชาติขอมแต่ไม่มากนัก
ซึ่งอาจจะเกิดจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันระหว่างชนชาติสยามกับชนชาติขอม
ประกอบกับมีปราสาทหินที่เก่าแก่หลายแห่งในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น
ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ปราสาทหินสระกำแพงน้อย อำเภออุทุมพรพิสัย
ธาตุหรือปรางค์บ้านปราสาท ธาตุบ้านเมืองจันทร์
อำเภอห้วยทับทันปราสาทปรางค์กู่บ้านกู่ ปราสาทบ้านสมอ อำเภอปรางค์กู่ ปราสาทเยอ
ธาตุจังเกา
อำเภอไพรบึงและประสาทหรือธาตุที่เก่าแก่ซึ่งยังพอมีซากปรากฏอยู่ในท้องที่อำเภอต่างๆ
ของจังหวัดศรีสะะเกษและจากหลักฐานที่พบในหนังสือที่เขียนไว้เป็นภาษาขอมโบราณเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงการสร้างปราสาทเขาพระวิหาร
ปราสาทบ้านกู่ อำเภอปรางค์กู่
ซึ่งสร้างในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจเวลาไล่เลี่ยกันคือราวในราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖
ในสมัยพระเจ้าวรมันที่ ๑ ปกครองเขมร
อาศัยหลักฐานต่างๆ
ทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวแล้วพอจะอนุมานได้ว่า พื้นที่จังหวัด
ศรีสะเกษในปัจจุบัน
เป็นที่อยู่อาศัยของชนชาติสยามและขอมมาเป็นเวลาช้านานประมาณไม่ต่ำกว่า ๑,๓๐๐ ปี แต่ก็ได้มีการอพยพเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเป็นครั้งคราว
ซึ่งอาจจะเป็นการอพยพหลบหนีภัยน้ำ
ท่วมใหญ่หรือเกิดจากการกันดารน้ำและโรคภัยไข้เจ็บ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น